วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556


เกาะพีพี

 นอกจากนี้ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือยังมี "ถ้ำไวกิ้ง" เมื่อปี พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จประพาสถ้ำแห่งนี้ และทรงพระราชทานนามใหม่ว่า "ถ้ำพญานาค"ตามรูปร่างหินก้อนหนึ่งที่คล้ายเศียรพญานาค อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านที่มาเก็บรังนกนางแอ่นบนเกาะแห่งนี้ ภายในถ้ำทางทิศตะวันออกและทิศใต้ พบภาพเขียนสีสมัยประวัติศาสตร์ เป็นรูปช้างและรูปเรือชนิดต่าง ๆ เช่น เรือใบยุโรป เรือใบอาหรับ เรือสำเภา เรือกำปั่น เรือใบใช้กังหัน และเรือกลไฟ เป็นต้น สันนิษฐานว่าภาพเขียนเหล่านี้เป็นฝีมือของนักเดินเรือหรือพวกโจรสลัด เพราะจากการศึกษาเส้นทางเดินเรือจากฝั่งตะวันตกไปยังฝั่งตะวันออก บริเวณนี้อาจเป็นจุดที่เรือสามารถแวะพักหลบลมมรสุมขนถ่ายสินค้าหรือซ่อมแซม เรือได้






เกาะพีพี


"หมู่เกาะพีพี" เป็นหมู่เกาะกลางทะเล อยู่ห่างจากอำเภอเมือง 42 กิโลเมตร เดิมชาวทะเลเรียกหมู่เกาะนี้ว่า "ปูเลาปิอาปิ" คำว่า "ปูเลา" แปลว่า เกาะ คำว่า "ปิอาปิ" แปลว่า ต้นไม้ทะเลชนิดหนึ่งจำพวกแสม และโกงกาง ต่อมาเรียกว่า "ต้นปีปี" ซึ่งภายหลังกลายเสียงเป็น "พีพี" ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นอาณาจักรแห่งบุปผาใต้สมุทร นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวหมู่เกาะนี้ ส่วนใหญ่มาเพื่อดำน้ำดูปะการัง ดอกไม้ทะเล และปลาหลากสีที่มีสีสันสวยงาม นอกจากนี้ ยังมีเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างเส้นทางเดินเรือ กระบี่






เกาะเต่า อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเกาะพงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกาะเต่ามีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว มีพื้นที่ 12,936 ไร่ ประกอบด้วยเกาะที่สำคัญด้วยกัน 2 แห่งคือ เกาะเต่าและเกาะนางยวน ห่างจากเกาะพงันไปทางเหนือประมาณ 45 กิโลเมตร ซึ่งถือเป็นเกาะที่อยู่ใกล้ที่สุด เมื่อเทียบกับระยะห่างจากปากน้ำชุมพร 85 กิโลเมตร และห่างจากอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานีประมาณ 120 กิโลเมตร